
จีนเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีชื่อเสียงเรื่องอุตสาหกรรมบันเทิง ทั้งด้านภาพยนตร์ ซีรี่ส์และงานอนิเมชัน
แต่เมื่อเรากล่าวถึงสื่อบันเทิงอย่างอนิเมชันแล้ว ผู้คนก็มักจะนึกถึงหรือคุ้นเคยกับอนิเมชั่นสัญชาติญี่ปุ่นมากกว่า ด้วยความคิดสร้างสรรค์และฝีมือการทำภาพเคลื่อนไหวที่คมชัดไหลลื่นรวมกับเนื้อหาที่มีให้เลือกหลากหลายจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่อนิเมชั่นญี่ปุ่นได้รับความนิยมจากคนดูทั่วโลก
แล้วอนิเมชันจีนละ?
ความจริงแล้วจีนเริ่มทำสื่ออนิเมชันขึ้นตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 19 โดยผลงานอนิเมชันชิ้นแรกถูกปล่อยออกมาในปี 1922 มีชื่อว่า 《舒振东华文打字机》(Shuzhendong Chinese Typewriter) เป็นโฆษณาที่มีเนื้อหาสั้น ๆ เกี่ยวกับเครื่องพิมพ์ดีดของโรงพิมพ์ Shanghai Commercial Press แม้ว่าในปัจจุบันตัวผลงานจะสูญหายไปแล้วก็ตาม
.png)
(รูปภาพบางส่วนจากโฆษณาสั้นเรื่อง 《舒振东华文打字机》)
ต่อมาเมื่อจีนก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน นักเขียนการ์ตูนชื่อดังอย่าง Te wei ก็ได้สร้าง Shanghai Animation Film Studio ขึ้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นสตูดิโอที่ทำเกี่ยวกับสื่ออนิเมชันโดยเฉพาะแห่งแรกของประเทศ
ทว่าเพียงไม่นานการพัฒนาอนิเมชันของประเทศจีนก็มีอันต้องหยุดชะงักเนื่องจากการปฏิวัติวัฒนธรรมในปี 1966 ทำให้ผลงานอนิเมชันที่มีในช่วงหลายปีซึ่งเป็นรากฐานสำคัญสูญหายไปเป็นจำนวนมากและเมื่อรวมกับเทคโนโลยีที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา อุตสาหกรรมอนิเมชันของจีนจีงเรียกได้ว่าอยู่ในยุคตกต่ำ
จุดเปลี่ยนของอนิเมชันจีนเริ่มต้นที่ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จนถึงตันศตวรรษที่ 20 เมื่ออนิเมชันจีนเริ่มเปลี่ยนแนวทางจากความคลาสสิคเข้าสู่ตลาดอนิเมชันระดับโลกอย่างจริงจัง รวมกับการพัฒนาของเทคโนโลยีทำให้จีนสามารถใช้เทคนิคที่หลากหลายในการรังสรรค์ผลงานภายใต้การดูแลอย่างเข้มงวดของ State Administration of radio, Film and Television (SARFT)
ภายหลังนับตั้งแต่ปี 2005 รัฐบาลจีนเริ่มเล็งเห็นถึงช่องทางการเผยแพร่วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของชาติผ่านสื่ออนิเมชัน จึงเริ่มต้นพัฒนาอุตสาหกรรมอนิเมชันภายในประเทศโดยได้ออกมาตราการ ‘ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตภาพยนตร์การ์ตูน’ ขึ้น
จากการผลักดันของรัฐบาลทำให้วงการอนิเมชันจีนเริ่มมีบทบาทในตลาดโลก ตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมาจนถึงปี 2020 อุตสาหกรรมอนิเมชันจีนมีมูลค่าการส่งออกมากกว่า 2 แสนล้านหยวนแล้ว
นอกจากนี้รัฐบาลยังตระหนักถึงจุดแข็งและจุดอ่อนในการทำสื่ออนิเมชันของตัวเอง นั่นคือการที่จีนเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายแต่กลับสามารถดึงออกมาใช้ได้อย่างจำกัดทั้งยังมีการคัดกรองเนื้อหามากเกินไปจนลดทอนความคิดสร้างสรรค์และอาจเป็นการปิดโอกาสที่จะสร้างผลงานที่แตกต่างจากเดิม รัฐบาลจึงได้ออกนโยบายใหม่ควบคู่ไปกับนโยบาย Made in China คือ “การพัฒนา Creative Industry”
ขณะที่ช่องทางออนไลน์ในการเสพสื่ออนิเมชันของจีนก็เติบโตอย่างก้าวกระโดดเช่นกัน ทั้ง Iqiyi, Youku, Tencent และ Bilibili ที่หลายคนในวงการอนิเมชันเริ่มคุ้นหูในช่วงหนึ่งถึงสองปีที่ผ่านมา
.jpg)
ไม่ใช่เพียงนักลงทุนในประเทศแต่บริษัทต่างชาติก็เริ่มเข้ามาร่วมลงทุนกับอุตสาหกรรมอนิเมชันของจีนเช่นกัน อย่างค่าย DreamWorks Animation สตูดิโอชื่อดังของอเมริกาก็ได้จับมือกับ China Media Capital ก่อตั้ง Oriental DreamWorks ขึ้นมาและภายหลังก็ได้ผลิตสื่ออนิเมชันชื่อดังมากมาย
ตัวอย่างอนิเมชันที่ทุกคนอาจจะคุ้นตาเป็นอย่างดี How to train your dragon 2, kung Fu Panda 3 และ Penguins of Madagascar
.jpg)
ถึงแม้ว่าในช่วงแรกวงการอนิเมชันของจีนจะเติบโตอย่างเชื่องช้า ทว่าหลายปีที่ผ่านมานี้จีนก็ได้พิสูจน์แล้วว่าตนมีศักยภาพมากพอทั้งในด้านของผู้ผลิตสื่อและในด้านของผู้บริโภค
อย่างไรก็ตามจากการพัฒนาอุตสาหกรรมอนิเมชันอย่างต่อเนื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จีนจะก้าวเข้ามาเป็นผู้เล่นระดับโลกและไม่แน่ว่าในอนาคตต่อจากนี้จีนอาจจะกลายเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในด้านอุตสาหกรรมอนิเมชันก็เป็นได้…หากท่านต้องการทำการตลาดจีนและก้าวนำก่อนใครบนโลกออนไลน์ Millideas.net มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและแนะนำแก่คุณ